วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เครื่องมือทางการสื่อสารการตลาด

เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดที่ในปัจจุบันนักการตลาดใช้กันหลากหลายอย่างที่หลายท่านทราบดีว่า “การสื่อสารแบบบูรณาการ “IMC- Integrated Marketing Communication ที่มีมากมายทั้งที่เรียกว่า “Above-the-Line” และ “Below-the-Line”การโฆษณา (Advertising) จัดเป็นเครื่องมือประเภท“Abovethe-Line” ที่ต้องสื่อสารทางเดียวจากผู้ส่งข่าวสารสู่ผู้รับข่าวสารผ่านสื่อประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ นักการตลาดส่วนใหญ่ใช้โฆษณาสร้างภาพพจน์ของแบรนด์ หรือแจ้งข้อความส่งเสริมการขายต่างๆ หรือย้ำเตือนความทรงจำให้แก่แบรนด์ จุดเด่นของการโฆษณาคือ

• สามารถส่งซ้ำได้หลายครั้ง (Pervasiveness) ตามงบประมาณที่มีและสามารถส่งข่าวสารได้หลากหลายสื่อ ในทำนองเดียวกันผู้บริโภคก็สามารถเปรียบเทียบโฆษณาได้ง่ายเช่นกัน
• ให้ความรู้สึกที่สมจริงได้ (Amplified Expressiveness) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของนักโฆษณา และประเภทสื่อที่ใช้ เช่น โฆษณาทางโทรทัศน์สามารถให้ทั้งภาพและเสียงได้
• ไม่เฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคล (Impersonality) ผู้บริโภคสามารถเลือกที่จะรับการสื่อสารจากโฆษณานั้นหรือไม่ก็ได้และเป็นการสื่อสารทางเดียวที่ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องตอบกลับเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดที่เหลือจัดเป็นเครื่องมือประเภท “Below-the-Line” ทั้งหมด

การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) คือ การสื่อสารทางเดียวจากผู้ส่งข่าวสารสู่ผู้รับข่าวสารผ่านสื่อ เป็นการสื่อสารทางเดียว เช่นเดียวกับการโฆษณา แต่ว่าน่าเชื่อถือกว่า ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นอื่นๆ เช่น

• ช่วยลดการป้องกันของผู้บริโภคจากข่าวสารที่ต้องการสื่อสาร (Ability to catch consumer off guard) ก็เพราะความน่าเชื่อถือนั่นเองที่ทำให้ผู้รับข่าวสารเปิดรับฟังข้อมูลได้ง่ายกว่าและมักจะคล้อยตามมากกว่า เช่นกัน
• ช่วยสร้างกระแสปากต่อปาก (Create word of mouth) ความน่าเชื่อถือ และความน่าสนใจทำให้ผู้บริโภคบอกต่อ โดยเฉพาะในกรณีที่มีคนร่วมกันซื้อมากขึ้นแล้วผลประโยชน์มากขึ้น
• ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายถูกกว่าการโฆษณา

กิจกรรมพิเศษ (Special Event) เช่น การจัดแสดงคอนเสิร์ต การแข่งขันกีฬา การแสดงสินค้า และอื่นๆ อีกมากมายที่นักการตลาด ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ เช่น
• สามารถเลือกกิจกรรมที่ตรงกับพฤติกรรมของลูกค้าเป้าหมาย (Relevant) เช่น หากลูกค้าเป้าหมายสนใจกีฬาก็เลือกใช้กิจกรรมที่เกี่ยวกับกีฬาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
• การมีส่วนร่วม (Involving) ลูกค้าเป้าหมายสามารถร่วมในกิจกรรมนั้นได้โดยตรงทำให้เกิดประสบการณ์กับแบรนด์ (Brand Experience) ตามที่ต้องการ
• คู่แข่งไม่สามารถทราบได้ล่วงหน้า (Competitor don’t know in advance) ทั้งนี้เพราะถ้าไม่โฆษณาประชาสัมพันธ์ก่อน คู่แข่งจะทราบก็ต่อเมื่อทำกิจกรรม ณ จุดขายนั้นๆ แล้ว

การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) เช่น รายการ ลด แลก แจก แถม ที่เราพบได้ทั่วไป ส่วนใหญ่เครื่องมือสื่อสารประเภทนี้ใช้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อมากกว่าใช้สร้างภาพพจน์ให้แก่แบรนด์ และเครื่องมือสื่อสารพวกนี้ใช้ในการหวังผลระยะสั้นมากกว่าระยะยาว จุดเด่นของการส่งเสริมการขาย ได้แก่
• ใช้กระตุ้นการสื่อสาร (Gain Communication) การส่งเสริมการขายที่แรงๆ และโดนใจ สามารถทำให้
ผู้บริโภคสนใจรับการสื่อสารจากแบรนด์นั้นๆ
• ให้รางวัล (Incentive) ของรางวัลที่ให้ เช่น ของแถม ส่วนลด การชิงโชคกระตุ้นให้ผู้บริโภคทำตามที่แบรนด์ต้องการ เช่น การซื้อในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อรับส่วนลดที่ให้ เป็นต้น
• เชิญชวน (Invitation) รางวัลต่างๆ ที่ เสนอให้ สามารถเชิญชวนให้ผู้บริโภคสนใจในแบรนด์นั้นๆ เช่น
ทดลองซื้อไปใช้ ฯลฯ

การตลาดทางตรง (Direct Marketing) เป็นการสื่อสารการตลาดตรงสู่ผู้บริโภคด้วยเครื่องมือ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร อินเตอร์-เน็ต ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กันมาก เพราะผู้บริโภคมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น และการสื่อสารแบบนี้ค่าใช้จ่ายถูกกว่าเครื่องมือประเภทอื่นๆ เข้าถึงตัวผู้บริโภคโดยตรง เกิดการสื่อสารสองทาง
• เฉพาะเจาะจง (Customized) สามารถเลือกส่งข้อความประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย ฯลฯ เข้าถึงตัวลูกค้าเป้าหมายได้โดยตรง
• เป็นการสื่อสารแบบปัจจุบัน (Upto-Date) ผู้บริโภคสามารถสื่อสารกลับมาได้แบบทันทีทันใด
• มีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับสามารถโต้ตอบกันได้สะดวก และเป็นการสื่อสารโดยตรง

การขายโดยพนักงานขาย (Personal Selling) การขายโดยพนักงานขายจัดเป็นเครื่องมือการสื่อสารการตลาดที่ทรงพลังที่สุดและมีค่าใช้จ่ายมาก ทั้งนี้ เพราะพนักงานสามารถทำหน้าที่ของเครื่องมือการสื่อสารที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ตั้งแต่ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การตลาด
ทางตรง และที่สำคัญคือ การขาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น