วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด (Marketing Public Relations : MPR)

การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด หรือเอ็มพีอาร์ หมายถึง ขั้นตอนการวางแผนการปฏิบัติดำเนินงานและการประเมินผลในกระบวนการกระตุ้นให้เกิดการซื้อและความพึงพอใจโดยอาศัยการให้ข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือ ผ่านรูปแบบการนำเสนอเกี่ยวกับสินค้าและองค์กร เพื่อทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจและต้องการซื้อสินค้าในที่สุด นักกลยุทธ์ไอเอ็มซีบางท่านก็เรียกเอ็มพีอาร์ว่า การเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับตราสินค้าŽ (Brand Publicity) ซึ่งจะเห็นได้ว่าทิศทางของการทำประชาสัมพันธ์ในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จะเป็นการทำประชาสัมพันธ์องค์กร (Corporate Public Relations : CPR) ที่เน้นความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานกับกลุ่มเป้าหมายแต่ในปัจจุบันนักกลยุทธ์ไอเอ็มซีหันมาให้ความสำคัญมากขึ้นกับการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด (Marketing Public Relations : MPR) ซึ่งเป็นการนำความสัมพันธ์ระหว่างการตลาดกับการประชาสัมพันธ์มาผสมผสานกัน ในอดีตมักจะมีคำกล่าวว่า การประชาสัมพันธ์ไม่ใช่การตลาด (PR is Not Marketing) แต่ในปัจจุบันนั้นเป็นที่ยอมรับกันว่าการประชาสัมพันธ์กับการตลาดเป็นสองสิ่งที่มีความสำคัญต่อกันมากจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ โดยมากมีรูปแบบวิธีการบริหารองค์กรโดยใช้การตลาดและประชาสัมพันธ์เป็นหลักในการจัดการถึง 5 รูปแบบดังนี้

ในรูปแบบแรกจะสอดคล้องกับคำพูดที่กล่าวข้างต้นที่ว่าการประชาสัมพันธ์ไม่ใช่การตลาด โดยผู้บริหารองค์กรจะมองว่าการตลาดกับการประชาสัมพันธ์ไม่เกี่ยวข้องกันเลย จนกระทั่งในรูปแบบที่ 2 มองว่าทั้งการตลาดและการประชาสัมพันธ์มีส่วนสัมพันธ์กันบ้าง และการประชาสัมพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของการตลาดในรูปแบบที่ 3 แต่สำหรับในรูปแบบที่ 4 นั้น จะเห็นว่า การตลาดกลับเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์ ส่วนในรูปสุดท้ายนั้นการตลาดและการประชาสัมพันธ์ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของกันและกันอย่างแยกไม่ออก นั่นคือรูปแบบของการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดที่ผู้เขียนกำลังกล่าวถึงนั่นเองเหตุผลที่ทำให้การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดอยู่ในกระแสนิยมในปัจจุบัน เนื่องจากสาเหตุสำคัญพื้นฐานดังต่อไปนี้
1. ค่าสื่อโฆษณามีราคาสูงขึ้น (media rates increasing ahead of inflation)
2. ทั้งตลาดและสื่อต่างก็แยกย่อยมากขึ้น (markets and media becoming increasingly fragmented) จะเห็นได้ว่ามีสื่อใหม่เกิดขึ้นมากมายอย่างนิตยสาร ได้แก่ คนรักบ้าน รถยนต์ เดินทางและท่องเที่ยว เป็นต้น
3. นักการตลาดพยายามใช้เครื่องมือการสื่อสารอย่างผสมผสานมากขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิผลที่สมบูรณ์แบบตามที่ต้องการให้มากที่สุด
4. ทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (changing consumer attitudes)
5. เพื่อให้บรรลุผลทั้งความน่าเชื่อถือและการใช้เงินอย่างคุ้มค่า (credibility and cost effectiveness) อันเป็นผลนำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ดีและขายสินค้านั่นเอง

การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบคือ
1. การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรุก (Proactive MPR) เป็นการมุ่งสร้างโอกาสทางการตลาดมากกว่า คอยแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว ในภาวะการแข่งขันทางการตลาดอย่างรุนแรง การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรุกมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะมุ่งวัตถุประสงค์ทางการตลาดเป็นสำคัญ
2. การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดแบบรับ (Reactive MPR) เป็นการมุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสินค้าหรือบริษัท อันเป็นการทำลายชื่อเสียง ภาพลักษณ์ของสินค้าหรือบริษัท เช่น การให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องเพื่อแก้ไขและควบคุมการเกิดข่าวลือ (Rumor Control) การจัดการกับภาวะวิกฤต (Crisis Management) เป็นต้น

ขอบเขตของการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด
การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด ช่วยให้แผนการสื่อสารการตลาดบรรลุเป้าหมายมากขึ้น เช่น Pepsi ใช้ Michael Jackson และ Madonna เพิ่มระดับความสนใจและการรับรู้ในตัวสินค้า สำหรับสินค้าฟุตบอลอย่าง Adidas ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดหน้าร้าน ทำการส่งเสริมการขาย และการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด เพื่อหวังผลให้ขายสินค้าได้จำนวนมากก่อนที่จะมีการโฆษณาทางโทรทัศน์เสียอีก

เอ็มพีอาร์ช่วยเพิ่มการรับรู้ในตัวสินค้า ให้กลุ่มเป้าหมายรับทราบ ช่วยให้เกิดความสนใจ ความตื่นตัว ความเข้าใจ สร้างความไว้วางใจ กระตุ้นความภักดีในสินค้าและกระตุ้นการซื้อ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับการประชาสัมพันธ์เพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถช่วยเพิ่มทัศนวิสัย พัฒนาองค์การและความน่าเชื่อถือในตัวสินค้า ซึ่งเครื่องมือไอเอ็มซีอื่นๆ ไม่สามารถทำได้ ขอบเขตของการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดมีดังนี้

1. เขียนและบริหารแผนการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด (MPR Planning and Management) อาจกล่าวได้ว่าเป็นการบริหารจัดการภาพรวมของเอ็มพีอาร์ทั้งหมด ซึ่งรวมถึงการวางแผนและควบคุมการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด โดยทำการกำหนดวัตถุประสงค์ ระบุกลุ่มชุมชน (Publics) และกำหนดกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดให้สอดคล้องกับการสื่อสารการตลาดในรูปแบบอื่นๆ จัดเวลาการบริหารขั้นตอนการปฏิบัติงานตลอดจนการประเมินผลงาน เมื่อสิ้นสุดแผนงานแล้ว
2. สื่อมวลชนสัมพันธ์ (Media Relations) เป็นส่วนสำคัญของการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาด โดยสร้างความสัมพันธ์และความคุ้นเคยกับสื่อมวลชน ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่ความมั่นใจเพื่อกระตุ้นให้เกิดความชอบ ลดสิ่งที่เป็นแง่ลบ และยังเกี่ยวพันไปถึงความสัมพันธ์ของบุคคล ระหว่างนักประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดกับบรรณาธิการและนักข่าว ทำให้เกิดทัศนคติที่มีต่อกันในแง่บวก
3. การเผยแพร่ข่าวสาร (Producing Publicity) การส่งและเผยแพร่ข่าวสาร คือ หลักการสำคัญของการประชาสัมพันธ์ โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับ ข่าวสาร และการส่งข่าวแจกเพื่อช่วยกระจายข้อมูลขององค์กรและสินค้าในด้านดี และยังช่วยจำกัดผลกระทบที่เกิดขึ้นในกรณีที่ให้ข้อมูลข่าวสารผิดพลาด การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารถือเป็นส่วนดีของการประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดที่สามารถใช้ให้เกิดประสิทธิผลและคุ้มทุน มีศักยภาพที่จะเป็นรูปแบบการสื่อสารที่มีอำนาจ ซึ่งเป็นผลจากความน่าเชื่อถือและสามารถสร้างความประทับใจให้เกิดขึ้นได้
4. การผลิตสิ่งพิมพ์ (Producing Publications) เป็นส่วนสนับสนุนสำคัญของการเผยแพร่ข่าวสาร ความหลากหลายของสิ่งพิมพ์ อาจทำโดยการใช้พนักงาน ส่งจดหมายแจ้งข่าว รายงานการเงินไปยังลูกค้าหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสินค้าและตราสินค้า
5. การสื่อสารองค์กร (Corporate Communications) ประกอบไปด้วยการวางแผนองค์กร การจัดการภาพลักษณ์ การประชาสัมพันธ์องค์กร ชุมชนสัมพันธ์ สร้างและคงสภาพความสัมพันธ์ทั้งในระดับท้องถิ่น ชาติ และระหว่างชาติที่เกี่ยวพันกันเพื่อประโยชน์ของการดำเนินธุรกิจ การติดต่อกับรัฐบาลและตัวแทนของรัฐบาลคราวหน้าผู้เขียนจะกล่าวถึงขอบเขตของการทำประชาสัมพันธ์เชิงการตลาดต่อให้จบ และจะเขียนถึงรายละเอียดของเกณฑ์ในการวางแผนว่ามีอะไรบ้างที่ต้องพิจารณา ตลอดจนข้อดีข้อจำกัดและการวัดผลของเครื่องมือนี้ว่ามีอะไรบ้าง แล้วพบกันนะครับ

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เครื่องมือทางการสื่อสารการตลาด

เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดที่ในปัจจุบันนักการตลาดใช้กันหลากหลายอย่างที่หลายท่านทราบดีว่า “การสื่อสารแบบบูรณาการ “IMC- Integrated Marketing Communication ที่มีมากมายทั้งที่เรียกว่า “Above-the-Line” และ “Below-the-Line”การโฆษณา (Advertising) จัดเป็นเครื่องมือประเภท“Abovethe-Line” ที่ต้องสื่อสารทางเดียวจากผู้ส่งข่าวสารสู่ผู้รับข่าวสารผ่านสื่อประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ นักการตลาดส่วนใหญ่ใช้โฆษณาสร้างภาพพจน์ของแบรนด์ หรือแจ้งข้อความส่งเสริมการขายต่างๆ หรือย้ำเตือนความทรงจำให้แก่แบรนด์ จุดเด่นของการโฆษณาคือ

• สามารถส่งซ้ำได้หลายครั้ง (Pervasiveness) ตามงบประมาณที่มีและสามารถส่งข่าวสารได้หลากหลายสื่อ ในทำนองเดียวกันผู้บริโภคก็สามารถเปรียบเทียบโฆษณาได้ง่ายเช่นกัน
• ให้ความรู้สึกที่สมจริงได้ (Amplified Expressiveness) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความคิดสร้างสรรค์ของนักโฆษณา และประเภทสื่อที่ใช้ เช่น โฆษณาทางโทรทัศน์สามารถให้ทั้งภาพและเสียงได้
• ไม่เฉพาะเจาะจงเป็นรายบุคคล (Impersonality) ผู้บริโภคสามารถเลือกที่จะรับการสื่อสารจากโฆษณานั้นหรือไม่ก็ได้และเป็นการสื่อสารทางเดียวที่ผู้บริโภคไม่จำเป็นต้องตอบกลับเครื่องมือสื่อสารทางการตลาดที่เหลือจัดเป็นเครื่องมือประเภท “Below-the-Line” ทั้งหมด

การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) คือ การสื่อสารทางเดียวจากผู้ส่งข่าวสารสู่ผู้รับข่าวสารผ่านสื่อ เป็นการสื่อสารทางเดียว เช่นเดียวกับการโฆษณา แต่ว่าน่าเชื่อถือกว่า ตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น
นอกจากนี้ยังมีจุดเด่นอื่นๆ เช่น

• ช่วยลดการป้องกันของผู้บริโภคจากข่าวสารที่ต้องการสื่อสาร (Ability to catch consumer off guard) ก็เพราะความน่าเชื่อถือนั่นเองที่ทำให้ผู้รับข่าวสารเปิดรับฟังข้อมูลได้ง่ายกว่าและมักจะคล้อยตามมากกว่า เช่นกัน
• ช่วยสร้างกระแสปากต่อปาก (Create word of mouth) ความน่าเชื่อถือ และความน่าสนใจทำให้ผู้บริโภคบอกต่อ โดยเฉพาะในกรณีที่มีคนร่วมกันซื้อมากขึ้นแล้วผลประโยชน์มากขึ้น
• ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายถูกกว่าการโฆษณา

กิจกรรมพิเศษ (Special Event) เช่น การจัดแสดงคอนเสิร์ต การแข่งขันกีฬา การแสดงสินค้า และอื่นๆ อีกมากมายที่นักการตลาด ปัจจุบันนิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ เช่น
• สามารถเลือกกิจกรรมที่ตรงกับพฤติกรรมของลูกค้าเป้าหมาย (Relevant) เช่น หากลูกค้าเป้าหมายสนใจกีฬาก็เลือกใช้กิจกรรมที่เกี่ยวกับกีฬาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร
• การมีส่วนร่วม (Involving) ลูกค้าเป้าหมายสามารถร่วมในกิจกรรมนั้นได้โดยตรงทำให้เกิดประสบการณ์กับแบรนด์ (Brand Experience) ตามที่ต้องการ
• คู่แข่งไม่สามารถทราบได้ล่วงหน้า (Competitor don’t know in advance) ทั้งนี้เพราะถ้าไม่โฆษณาประชาสัมพันธ์ก่อน คู่แข่งจะทราบก็ต่อเมื่อทำกิจกรรม ณ จุดขายนั้นๆ แล้ว

การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) เช่น รายการ ลด แลก แจก แถม ที่เราพบได้ทั่วไป ส่วนใหญ่เครื่องมือสื่อสารประเภทนี้ใช้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อมากกว่าใช้สร้างภาพพจน์ให้แก่แบรนด์ และเครื่องมือสื่อสารพวกนี้ใช้ในการหวังผลระยะสั้นมากกว่าระยะยาว จุดเด่นของการส่งเสริมการขาย ได้แก่
• ใช้กระตุ้นการสื่อสาร (Gain Communication) การส่งเสริมการขายที่แรงๆ และโดนใจ สามารถทำให้
ผู้บริโภคสนใจรับการสื่อสารจากแบรนด์นั้นๆ
• ให้รางวัล (Incentive) ของรางวัลที่ให้ เช่น ของแถม ส่วนลด การชิงโชคกระตุ้นให้ผู้บริโภคทำตามที่แบรนด์ต้องการ เช่น การซื้อในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อรับส่วนลดที่ให้ เป็นต้น
• เชิญชวน (Invitation) รางวัลต่างๆ ที่ เสนอให้ สามารถเชิญชวนให้ผู้บริโภคสนใจในแบรนด์นั้นๆ เช่น
ทดลองซื้อไปใช้ ฯลฯ

การตลาดทางตรง (Direct Marketing) เป็นการสื่อสารการตลาดตรงสู่ผู้บริโภคด้วยเครื่องมือ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร อินเตอร์-เน็ต ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้กันมาก เพราะผู้บริโภคมีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น และการสื่อสารแบบนี้ค่าใช้จ่ายถูกกว่าเครื่องมือประเภทอื่นๆ เข้าถึงตัวผู้บริโภคโดยตรง เกิดการสื่อสารสองทาง
• เฉพาะเจาะจง (Customized) สามารถเลือกส่งข้อความประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย ฯลฯ เข้าถึงตัวลูกค้าเป้าหมายได้โดยตรง
• เป็นการสื่อสารแบบปัจจุบัน (Upto-Date) ผู้บริโภคสามารถสื่อสารกลับมาได้แบบทันทีทันใด
• มีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับสามารถโต้ตอบกันได้สะดวก และเป็นการสื่อสารโดยตรง

การขายโดยพนักงานขาย (Personal Selling) การขายโดยพนักงานขายจัดเป็นเครื่องมือการสื่อสารการตลาดที่ทรงพลังที่สุดและมีค่าใช้จ่ายมาก ทั้งนี้ เพราะพนักงานสามารถทำหน้าที่ของเครื่องมือการสื่อสารที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ตั้งแต่ การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย การตลาด
ทางตรง และที่สำคัญคือ การขาย

Marketing Communication

การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) กับ การสื่อสารทางการตลาด(Marketing Communication) และ การตลาด (Marketing) กับ การสื่อสารทางการตลาด (Marketing Communication) มีความแตกต่างกันอย่างไร?

ในประเทศไทย สาขาทางด้านสื่อสารมวลชนหรือนิเทศศาสตร์เป็นที่รู้จักกันดีมากว่า30 ปี อีกทั้งบุคคลากรที่ทำงานในวงการบันเทิงส่วนใหญ่เรียนจบด้านสื่อสารมวนชนไม่ว่าจะเป็นสายงานโทรทัศน์ วิทยุ การสร้างภาพยนตร์ นักข่าวหรือแม้แต่ครีเอทีฟ ซึ่งทำให้คนส่วนใหญ่พอทราบว่าด้านสื่อสารมวลชนต้องเรียนเกี่ยวกับอะไร

ในส่วนของการทำงานถ้าจะพูดว่า นักสื่อสารการตลาดกับนักสื่อสารมวลชนทำงานร่วมกันก็น่าจะถูกต้องในเชิงของการสร้างสินค้าหรือบริการให้เป็นที่รู้จักกันอย่างขว้างขวางกับกลุ่มตลาดเป้าหมายส่วนวัตถุประสงค์หลักของนักการตลาดคือ เพื่อสร้างยอดขายให้กำไร แต่วัตถุประสงค์
หลักของนักการสื่อสารการตลาดคือเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและสร้างความสัมพันธ์ ในระยะยาวระหว่างตราสินค้าและลูกค้า ขยายความให้ชัดเจนคือเมื่อมีการสื่อสารการตลาดจะมีคำว่าการสร้างตราสินค้า (Branding) เข้ามาเกี่ยวข้อง หัวใจของนักสื่อสารการตลาดคือการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง ถูกช่องทาง ถูกเวลา และถูกกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้การสื่อสารที่ถูกส่งออกไปนั้นมีประสิทธิผลที่สุด ยอดขายและกำไรจะตามมาเมื่อการสื่อสารนั้นมีประสิทธิภาพ

ในมุมมองทางธุรกิจ สายงานทางด้าน Marketing Communication หรือการสื่อสาiทางด้านการตลาด หลายคนมองว่าคนทำการตลาดก็สามารถทำงานทางด้านสื่อสารการตลาดได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เนื้อหาของการทำการสื่อสารการตลาดจะเน้นที่
วัตถุประสงค์ของการสื่อสารเป็นหลักเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจถึงตราสินค้า สินค้าและบริการได้ตรงตามที่ผู้ผลิตต้องการจะสื่อสารให้ผู้บริโภคได้รับรู้ ไม่ว่าจะสื่อสารด้วยคำพูด รูปภาพ หรือ รูป รส กลิ่น เสียง หรือที่เรียกว่าภาพลักษณ์ เป็นหน้าที่ของนักสื่อสารการตลาดที่ต้องวางแผนและประยุกต์เครื่องมือสื่อต่างๆให้ส่งสารถึงลูกค้าได้อย่างถูกต้องโดยที่เครื่องมือต่างๆในการสื่อสารเพื่อนำเสนอข้อมูลและชักจูงลูกค้าให้รู้จักสินค้านั้นจะเป็นช่องทางคล้ายกับที่นักสื่อสารมวลชนใช้ ซึ่งเครื่องมือหลักที่นักสื่อสารการตลาดใช้มีทั้งหมด 6 ช่องทาง คือ

1 การโฆษณา (Advertising)
2 การประชาสัมพันธ(Public Relations)
3 การสื่อสารการตลาดทางตรง (Direct Marketing Communication)
4 การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการตลาด (Sales Promotion Communication)
5 สื่อสารแบบส่วนตัว (Personal Communication)
6 การสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด (Sponsorship and Event)

นอกจากนี้แล้วการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องมีข้อมูลที่สอดคล้องกันในทุกช่องทางของสื่อที่นำเสนอข้อมูลออกไปที่เราเรียกว่า Integrated Marketing Communication (IMC) หรือการสื่อสารแบบบูรณาการ ซึ่งหมายถึงการใช้ช่องทางของสื่อมากกว่าหนึ่งทางขึ้นไป เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ครอบคลุมทุกช่องทาง

ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ เช่น Insight Education Consulting เป็นบริษัทแนะ แนวการศึกษาต่อประเทศออสเตรเลีย กลุ่มผู้มาใช้บริการมีทั้งเด็กนักเรียน เด็ก มหาวิทยาลัย และกลุ่มคนทำงาน ดังนั้นการใช้เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดเพื่อให้ เข้าถึงทั้ง 3 กลุ่มนั้นจะแตกต่างกันไปตามไลฟ์สไตล์ เช่น นักสื่อสารการตลาดอาจจะ ใช้เครื่องมือทางการตลาดอย่างการประชาสัมพันธ์ไปตามโรงเรียนต่างๆ เพื่อเข้าให้ถึง กลุ่มเด็กนักเรียน หรือตามมหาวิทยาลัยต่างๆ สำหรับกลุ่มนักศึกษา นอกจากนั้นการ ใช้สื่อสิ่งพิมพ์อย่างใบปลิวก็ถือว่าเป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงกลุ่มนักเรียนได้ ใน ขณะที่กลุ่มคนทำงานนั้นสื่อที่น่าจะถูกเลือกใช้คือการโฆษณาทางวิทยุ เนื่องจากกลุ่ม คนทำงานช่วงระหว่างวันจะฟังวิทยุกันส่วนมาก และสื่อกลางแจ้งอย่างป้ายโฆษณา ตามสถานีรถไฟฟ้าหรือรถไฟใต้ดินนั้นก็สามารถส่งข้อมูลให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ได้

ดังนั้นจะเห็นได้ว่านักสื่อสารการตลาดของ Insight อาจจะต้องใช้เครื่องมือการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดรวม 3 ช่อง ทางหลักเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 กลุ่ม โดยที่ข้อความใน 3 ช่องทางต้องมี ความสอดคล้องกัน โดยใจความสำคัญคือ Insight เป็นบริษัทให้คำปรึกษากับนักเรียนที่สนใจไปศึกษาต่อออสเตรเลีย แม้แต่สีที่ใช้ของ Insight คือสีเขียว ก็จะต้องใช้สี เขียวเหมือนกันหมด ไม่ใช่ว่าบนใบปลิว Insight ใช้สีเทา แต่บนป้ายโฆษณากลางแจ้ง Insight ใช้สีขาว ข้อความที่ถูกส่งผ่านออกไปในต่างเครื่องมือจะต้องเป็นข้อความที่ สอดคล้องกันทั้งภาพและความหมาย ที่กล่าวมาคือการอธิบายคำว่าการสื่อสารแบบ บูรณาการนั้นเอง

ข้อดีของการสื่อสารแบบบูรณาการนั้นทำให้ลูกค้าไม่สับสนกับภาพลักษณ์ของสินค้า
หรือบริการอีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิตสินค้าได้ในบางส่วนเช่นกัน


http://www.insight.in.th/new/news-detail.php?pid=86