วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Marketing Communication

การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) กับ การสื่อสารทางการตลาด(Marketing Communication) และ การตลาด (Marketing) กับ การสื่อสารทางการตลาด (Marketing Communication) มีความแตกต่างกันอย่างไร?

ในประเทศไทย สาขาทางด้านสื่อสารมวลชนหรือนิเทศศาสตร์เป็นที่รู้จักกันดีมากว่า30 ปี อีกทั้งบุคคลากรที่ทำงานในวงการบันเทิงส่วนใหญ่เรียนจบด้านสื่อสารมวนชนไม่ว่าจะเป็นสายงานโทรทัศน์ วิทยุ การสร้างภาพยนตร์ นักข่าวหรือแม้แต่ครีเอทีฟ ซึ่งทำให้คนส่วนใหญ่พอทราบว่าด้านสื่อสารมวลชนต้องเรียนเกี่ยวกับอะไร

ในส่วนของการทำงานถ้าจะพูดว่า นักสื่อสารการตลาดกับนักสื่อสารมวลชนทำงานร่วมกันก็น่าจะถูกต้องในเชิงของการสร้างสินค้าหรือบริการให้เป็นที่รู้จักกันอย่างขว้างขวางกับกลุ่มตลาดเป้าหมายส่วนวัตถุประสงค์หลักของนักการตลาดคือ เพื่อสร้างยอดขายให้กำไร แต่วัตถุประสงค์
หลักของนักการสื่อสารการตลาดคือเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและสร้างความสัมพันธ์ ในระยะยาวระหว่างตราสินค้าและลูกค้า ขยายความให้ชัดเจนคือเมื่อมีการสื่อสารการตลาดจะมีคำว่าการสร้างตราสินค้า (Branding) เข้ามาเกี่ยวข้อง หัวใจของนักสื่อสารการตลาดคือการสื่อสารข้อมูลที่ถูกต้อง ถูกช่องทาง ถูกเวลา และถูกกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้การสื่อสารที่ถูกส่งออกไปนั้นมีประสิทธิผลที่สุด ยอดขายและกำไรจะตามมาเมื่อการสื่อสารนั้นมีประสิทธิภาพ

ในมุมมองทางธุรกิจ สายงานทางด้าน Marketing Communication หรือการสื่อสาiทางด้านการตลาด หลายคนมองว่าคนทำการตลาดก็สามารถทำงานทางด้านสื่อสารการตลาดได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เนื้อหาของการทำการสื่อสารการตลาดจะเน้นที่
วัตถุประสงค์ของการสื่อสารเป็นหลักเพื่อให้ลูกค้าเข้าใจถึงตราสินค้า สินค้าและบริการได้ตรงตามที่ผู้ผลิตต้องการจะสื่อสารให้ผู้บริโภคได้รับรู้ ไม่ว่าจะสื่อสารด้วยคำพูด รูปภาพ หรือ รูป รส กลิ่น เสียง หรือที่เรียกว่าภาพลักษณ์ เป็นหน้าที่ของนักสื่อสารการตลาดที่ต้องวางแผนและประยุกต์เครื่องมือสื่อต่างๆให้ส่งสารถึงลูกค้าได้อย่างถูกต้องโดยที่เครื่องมือต่างๆในการสื่อสารเพื่อนำเสนอข้อมูลและชักจูงลูกค้าให้รู้จักสินค้านั้นจะเป็นช่องทางคล้ายกับที่นักสื่อสารมวลชนใช้ ซึ่งเครื่องมือหลักที่นักสื่อสารการตลาดใช้มีทั้งหมด 6 ช่องทาง คือ

1 การโฆษณา (Advertising)
2 การประชาสัมพันธ(Public Relations)
3 การสื่อสารการตลาดทางตรง (Direct Marketing Communication)
4 การสื่อสารเพื่อส่งเสริมการตลาด (Sales Promotion Communication)
5 สื่อสารแบบส่วนตัว (Personal Communication)
6 การสนับสนุนกิจกรรมทางการตลาด (Sponsorship and Event)

นอกจากนี้แล้วการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องมีข้อมูลที่สอดคล้องกันในทุกช่องทางของสื่อที่นำเสนอข้อมูลออกไปที่เราเรียกว่า Integrated Marketing Communication (IMC) หรือการสื่อสารแบบบูรณาการ ซึ่งหมายถึงการใช้ช่องทางของสื่อมากกว่าหนึ่งทางขึ้นไป เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ครอบคลุมทุกช่องทาง

ยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพ เช่น Insight Education Consulting เป็นบริษัทแนะ แนวการศึกษาต่อประเทศออสเตรเลีย กลุ่มผู้มาใช้บริการมีทั้งเด็กนักเรียน เด็ก มหาวิทยาลัย และกลุ่มคนทำงาน ดังนั้นการใช้เครื่องมือสื่อสารทางการตลาดเพื่อให้ เข้าถึงทั้ง 3 กลุ่มนั้นจะแตกต่างกันไปตามไลฟ์สไตล์ เช่น นักสื่อสารการตลาดอาจจะ ใช้เครื่องมือทางการตลาดอย่างการประชาสัมพันธ์ไปตามโรงเรียนต่างๆ เพื่อเข้าให้ถึง กลุ่มเด็กนักเรียน หรือตามมหาวิทยาลัยต่างๆ สำหรับกลุ่มนักศึกษา นอกจากนั้นการ ใช้สื่อสิ่งพิมพ์อย่างใบปลิวก็ถือว่าเป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงกลุ่มนักเรียนได้ ใน ขณะที่กลุ่มคนทำงานนั้นสื่อที่น่าจะถูกเลือกใช้คือการโฆษณาทางวิทยุ เนื่องจากกลุ่ม คนทำงานช่วงระหว่างวันจะฟังวิทยุกันส่วนมาก และสื่อกลางแจ้งอย่างป้ายโฆษณา ตามสถานีรถไฟฟ้าหรือรถไฟใต้ดินนั้นก็สามารถส่งข้อมูลให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ได้

ดังนั้นจะเห็นได้ว่านักสื่อสารการตลาดของ Insight อาจจะต้องใช้เครื่องมือการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์รวมทั้งการจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดรวม 3 ช่อง ทางหลักเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้ง 3 กลุ่ม โดยที่ข้อความใน 3 ช่องทางต้องมี ความสอดคล้องกัน โดยใจความสำคัญคือ Insight เป็นบริษัทให้คำปรึกษากับนักเรียนที่สนใจไปศึกษาต่อออสเตรเลีย แม้แต่สีที่ใช้ของ Insight คือสีเขียว ก็จะต้องใช้สี เขียวเหมือนกันหมด ไม่ใช่ว่าบนใบปลิว Insight ใช้สีเทา แต่บนป้ายโฆษณากลางแจ้ง Insight ใช้สีขาว ข้อความที่ถูกส่งผ่านออกไปในต่างเครื่องมือจะต้องเป็นข้อความที่ สอดคล้องกันทั้งภาพและความหมาย ที่กล่าวมาคือการอธิบายคำว่าการสื่อสารแบบ บูรณาการนั้นเอง

ข้อดีของการสื่อสารแบบบูรณาการนั้นทำให้ลูกค้าไม่สับสนกับภาพลักษณ์ของสินค้า
หรือบริการอีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนการผลิตสินค้าได้ในบางส่วนเช่นกัน


http://www.insight.in.th/new/news-detail.php?pid=86

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น